หลักสูตรมีการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome-based Education: OBE) และใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active Learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research-based Learning) และการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL) เป็นแนวทางในการดำเนินการ เพื่อมุ่งสร้างมหาบัณฑิตที่มีความรู้ด้านการบัญชีชั้นสูงและมีความเชี่ยวชาญด้านการทำวิจัยแบบครบวงจรเพื่อพัฒนาตนเองทางอาชีพได้ดีขึ้น
เปิดทำการเรียนการสอนเป็นปีการศึกษาแรกในปี พ.ศ.2554 การบัญชีเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญ ด้วยเหตุผลที่การประกอบวิชาชีพทางบัญชีเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์โดยคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี จึงได้เสนอแนวทางการกำหนดคุณสมบัติบุคลากรทางการบัญชีให้มีมาตรฐานในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาบุคลากรทางวิชาชีพบัญชีให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ (International Education Standards: IES) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ IES 2 เรื่อง เนื้อหาของโปรแกรมศึกษาทางวิชาชีพบัญชี IES 3 เรื่อง ทักษะทางวิชาชีพ และ IES 4 เรื่อง ค่านิยม จรรยาบรรณ และทัศนคติทางวิชาชีพ โดยเฉพาะผู้สอนในหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ต้องมีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำในระดับ “บัญชีมหาบัณฑิต”
ทั้งนี้ “หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต” สามารถรองรับบัณฑิตในสาขาการบัญชีที่สำเร็จจากสถาบันการศึกษาทั้งในภาคใต้และส่วนกลาง ซึ่งมีจำนวนมากในแต่ละปี ดังนั้นการเปิด “หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต” จะช่วยพัฒนาบุคลากรสายวิชาชีพบัญชีให้เป็นไปตามคุณสมบัติที่สภาวิชาชีพบัญชีฯ กำหนด รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านบัญชีให้สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีบัญชีขั้นสูงและสามารถใช้กระบวนวิธีวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านบัญชีให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิตจะตอบสนองความต้องการของทั้งระดับชุมชน สังคม ภูมิภาค และประเทศ ซึ่งรวมทั้งภาคธุรกิจและสถาบันการศึกษาจะมีบุคลากรสายวิชาชีพบัญชีที่มีศักยภาพและความสามารถที่สูงขึ้น รวมถึงการสร้างโอกาสทางการศึกษาด้านการบัญชีในระดับสูง ทั้งเป็นการลดต้นทุนในการพัฒนาบุคลากรด้านการบัญชีในภาคใต้อีกด้วย
หลักสูตรปริญญาโททางการบัญชีแห่งแรกและแห่งเดียวในภาคใต้
มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในสาขาวิชาการบัญชี
ทั้งวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในเชิงวิชาการ
วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
รายวิชาเรียน 0 หน่วยกิต
หน่วยกิตทั้งหมด 36 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ 18 หน่วยกิต
รายวิชาเรียน 21 หน่วยกิต
หน่วยกิตทั้งหมด 39 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ 6 หน่วยกิต
รายวิชาเรียน 33 หน่วยกิต
หน่วยกิตทั้งหมด 39 หน่วยกิต
บัญชีมหาบัณฑิต
Master of Accountancy Program
บัญชีมหาบัณฑิต
Master of Accountancy
บช.ม
M.Acc.