Doctor of Philosophy Program in Management
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการ
ปรัชญาหลักสูตร
ปรัชญาการศึกษาของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ เป็นการจัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) โดยตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาที่ต้องมีความสอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ผ่านกระบวนการแก้ปัญหา ค้นคว้า และการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน ทั้งนี้โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียน ดังนั้น การจัดการศึกษาของหลักสูตรฯ จึงให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active Learning) โดยเฉพาะการใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้อย่างลึกซึ้งในทฤษฎี หลักการ และแนวคิดที่สำคัญในสาขาวิชาการจัดการ และสามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ที่มีคุณูปการต่อสาขาวิชาและเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งต้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบริบทและความต้องการของพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”
คณะวิทยาการจัดการ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก โดยมีการเรียนการสอนทั้งในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ทำให้เกิดการบูรณาคณาจารย์ สื่อการเรียนการสอน
องค์ความรู้ด้านการวิจัย รวมทั้งวิทยาการจัดการต่างๆ ที่จะช่วยผลักดันให้นักศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ได้พัฒนางานวิจัยและผลงานวิชาการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทั้งภาคธุรกิจ หน่วยงานในภาครัฐ และองค์กรในชุมชน
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดตั้งขึ้นและเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2552 เป็นหลักสูตรที่ได้การยอมรับจากบุคลากรทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เนื่องจากเป็นหลักสูตรที่ทันสมัย เปิดสอนโดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ มีประสบการณ์ และความรู้ความเชี่ยวชาญ รวมทั้งหลักสูตรมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ ทำให้ในแต่ละปีมีผู้ที่สนใจสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาเอกของคณะวิทยาการจัดการ เป็นจำนวนมาก
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มุ่งสร้างองค์ความรู้และผลิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ ที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการวิจัยที่เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีการจัดการที่มีพื้นฐานมาจากศาสตร์และแขนงความรู้ในหลายสาขาวิชา รวมทั้ง สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้บนพื้นฐานของงานวิจัยเชิงประจักษ์ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพบริบทและสถานการณ์ สามารถตอบสนองความต้องการของภูมิภาค สังคม และประเทศชาติได้อย่างเหมาะสม ตามแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ที่มีการใช้ฐานคิดที่หลากหลายและสภาพการบริหารที่จำเป็นต้องมีการบูรณาการองค์ความรู้ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และให้ความสำคัญกับบริบททางสังคม สิ่งแวดล้อมและการเมือง
ทักษะการวิจัยด้านการจัดการ
มีความรู้ ความสามารถ ทักษะในกระบวนการวิจัยด้านการจัดการอย่างลึกซึ้งและแม่นยำ สามารถแสวงหาและเข้าถึงองค์ความรู้ วิเคราะห์ประเด็นปัญหาสำคัญ รวมทั้งสามารถบุกเบิก ออกแบบ และดำเนินโครงการวิจัยในเรื่องที่มีความซับซ้อนในฐานะนักวิจัยอิสระ
ทักษะชีวิตและอาชีพ
พร้อมปฏิบัติหน้าที่ในฐานะอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และผู้บริหาร สามารถ นาองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ไขปัญหา การพัฒนาองค์กรหรือหน่วยงานได้อย่างสอดรับกับบริบททางการเมืองเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาชุมชนตลอดถึงสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
มีความรู้ ความเข้าใจเชิงลึกในทฤษฎีการจัดการ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ อันเป็นที่ยอมรับในวงการด้านการจัดการ ทั้งในระดับชาติและระดับสากล
โครงสร้างหลักสูตร
แผนการศึกษา
วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
รายวิชาเรียน
หน่วยกิตทั้งหมด
- แบบ 1.1
- แบบ 2.1
- 48
- 36
- 0
- 28
- 48
- 64
การเปิดสอนหลักสูตร
- ภาคปกติ ที่คณะวิทยาการจัดการ
1) นักวิชาการ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน เช่น มหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงที่ปรึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
2) ผู้บริหารทั้งในองค์กรภาคเอกชนและภาครัฐ
3) ผู้ดำเนินธุรกิจของตนเองหรือธุรกิจของครอบครัว
ผู้อำนวยการหลักสูตร
รศ.ดร.วิษณุพงษ์ โพธิพิรุฬห์
- +66-7428-7869
- wisanupong.p@psu.ac.th
คำอธิบายหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
Doctor of Philosophy Program in Management
ชื่อปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการ)
Doctor of Philosophy (Management)
ชื่อย่อปริญญา
ปร.ด. (การจัดการ)
Ph.D. (Management)
- หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
- ระยะเวลา 3 ปี รวม 6 ภาคการศึกษา
- หลักสูตรปกติ
- 48, 64 หน่วยกิต ตลอดหลักสูตร
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
-
ภาคปกติ นักศึกษาไทย
77,000 บาท/ภาคการศึกษา -
ภาคปกติ นักศึกษาต่างชาติ
97,000 บาท/ภาคการศึกษา