หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Master of Public Administration

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

ปรัชญาหลักสูตร

ปรัชญาการศึกษาของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้องลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน การจัดการศึกษาของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตจึงมุ่งเน้นถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต และผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารงานภาครัฐ รวมทั้งประยุกต์ใช้ความรู้และการวิจัยทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ในการพัฒนาองค์การและสังคมได้อย่างยั่งยืน ที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-Based Education) การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active Learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการใช้ปัญหาและการทำโครงการเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-Based Learning and Project-Based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ

เปิดการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2535 เน้นวัตถุประสงค์ในการผลิตมหาบัณฑิตทางการบริหารภาครัฐ ให้ความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการวิเคราะห์ แก้ไขัปญหาการบริหารของภูมิภาค พร้อมทั้งสามารถนำองค์ความรู้ทางด้านการบริหารขั้นสูงไปประยุกต์ใช้กับหน้าที่การงานได้อย่างสอดคล้องกับลักษณะความต้องการของท้องถิ่น และส่วนภูมิภาค

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคสมทบ เปิดการเรียนการสอนครั้งแรก ในปีการศึกษา 2535 โดยเปิดสอนนอกเวลาราชการแก่นักศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงาน และนักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน เน้นวัตถุประสงค์ในการผลิตมหาบัณฑิตทางการบริหารภาครัฐ ให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาการบริหารของภูมิภาค พร้อมทั้งสามารถนำองค์ความรู้ทางด้านการบริหารขั้นสูงไปประยุกต์ใช้กับหน้าที่การงานได้อย่างสอดคล้องกับลักษณะความต้องการของท้องถิ่น และส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้  และได้ผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณภาพและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในเรื่องความเป็นเลิศทางวิชาการ สามารถตอบสนอง ความต้องการของหน่วยงาน ส่งผลให้หน่วยงานต่างๆ ได้รับประโยชน์จากบุคลากรทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้การบริหารงานภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ และจัดการเรียนการสอนที่ใช้ฐานความรู้จากการวิจัยมาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคณาจารย์และนักศึกษา ให้นักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจ มีความสามารถด้านการบริหารงานภาครัฐ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานภาครัฐได้อย่างเหมาะสม และในปี พ.ศ. 2542 มีการเปิดหลักสูตรขึ้นที่วิทยาเขตตรัง และได้ปิดรับสมัครนักศึกษาตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2551

ทักษะวิชาชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์

สร้างนวัตกรรมบนพื้นฐานของแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์

สร้างนวัตกรรมทางรัฐประศาสนศาสตร์

ประยุกต์ใช้ความรู้ในการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม

ปรับตัวเข้ากับสังคมที่มีความหลากหลาย

รับฟังความเห็นที่แตกต่าง และแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์

โครงสร้างหลักสูตร

แผนการศึกษา

วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์

รายวิชาเรียน

หน่วยกิตทั้งหมด

วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ 36 หน่วยกิต

รายวิชาเรียน 0 หน่วยกิต

หน่วยกิตทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ 18 หน่วยกิต

รายวิชาเรียน 18 หน่วยกิต

หน่วยกิตทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ 6 หน่วยกิต

รายวิชาเรียน 30 หน่วยกิต

หน่วยกิตทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

การเปิดสอนหลักสูตร

แนวทางการประกอบอาชีพ

ผู้อำนวยการหลักสูตร

รศ.ดร.สมพร คุณวิชิต

คำอธิบายหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Master of Public Administration Program

ชื่อปริญญา

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Master of Public Administration

ชื่อย่อปริญญา

รป.ม.
M.P.A

ค่าธรรมเนียมการศึกษา